Health

  • โรคอีสุกอีใส
    โรคอีสุกอีใส

    โรคอีสุกอีใส หรือ โรคสุกใส เป็นโรคที่เกิดจากติดเชื้อไวรัส Varicella – Zoster virus หรือ Human herpes virus type 3 ในประเทศไทยมักเกิดการระบาดในช่วงต้นปี คือตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน พบได้ทุกกลุ่มอายุ โดยมากมักเกิดในเด็ก อาการในเด็กมักไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับอาการในผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ที่มักจะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนมากกว่า ในปัจจุบันโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

    โรคอีสุกอีใส สามารถติดต่อโดยการหายใจเอาฝอยละอองจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย หรือสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำบนผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ ระยะที่ผู้ป่วยอาจแพร่เชื้อได้คือ 1-2 วันก่อนผื่นขึ้น จนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดหมด

    โรคอีสุกอีใส

    อาการของโรคอีสุกอีใส

    มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เพลีย ปวดศีรษะ เจ็บคอ เบื่ออาหารในช่วง 1–2 วันแรกของการติดเชื้อ จากนั้นจะเกิดผื่นเป็นจุดแดงๆ ตามร่างกายทั้งใบหน้า หน้าอก หลัง ปาก เปลือกตา อวัยวะเพศผื่นแดงเหล่านี้จะเริ่มกลายเป็นตุ่มพองขนาดเล็ก มีน้ำใสๆ ภายในอีก 2–4 วัน ก่อนจะเกิดการตกสะเก็ดในสัปดาห์ต่อมามักมีอาการคันบริเวณผื่นหรือตุ่มพองอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงในเด็กเล็กแต่ในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจเกิดการพัฒนาโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้นบางรายมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง เช่น สมองอักเสบ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ

    สาเหตุของโรคอีสุกอีใส

    เกิดจากเชื้อวาริเซลลาซอสเตอร์ ไวรัส (Varicella Zoster Virus :VSV) ที่แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำ น้ำลาย ไอ จาม หรือการหายใจเอาเชื้อที่ปะปนในอากาศเข้าไป การติดเชื้อในบางกรณีอาจเกิดจากการสัมผัสแผลของผู้ป่วยโรคงูสวัดโดยตรงได้เช่นกัน ระยะเวลาฟักตัวของโรคอยู่ในช่วง 10 – 21 วัน ผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่มีการติดเชื้อ ผื่นยังไม่ขึ้น 48 ชั่วโมงจนตกสะเก็ดเฉลี่ย 14 – 16 วัน

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคอีสุกอีใส

    ภาวะแทรกซ้อนมักพบในทารกแรกเกิด ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยและรุนแรงคือ ติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ เป็นต้น

    โรคสุกใสสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

    – ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส แนะนำให้ฉีดจำนวน 2 เข็ม โดยเข็มแรกและเข็มที่ 2 ห่างกันประมาณ 28 วันจะช่วยลดโอกาสเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคได้ถึง 90 %

    ข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส

    – ห้ามฉีดในคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน ดังนั้นหลังฉีดวัคซีนควรคุมกำเนิดไว้ก่อน

    – ห้ามฉีดในคนที่แพ้ยานิโอมัยซิน

    – ห้ามฉีดในคุณแม่ที่ให้นมบุตร

    ที่มา

    phyathai.com

    khonkaenram.com

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ pleodinosaur.com

Economy

  • เกาะติดส่งออกฟื้น-ดอกเบี้ยชะลอขึ้น
    เกาะติดส่งออกฟื้น-ดอกเบี้ยชะลอขึ้น

    เกาะติดส่งออกฟื้น-ดอกเบี้ยชะลอขึ้น ประเมินเศรษฐกิจไทย

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เกาะติดสถานการณ์การส่งออกของไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจของไทย โดยเชื่อว่าเมื่อเห็นตัวเลขส่งออกในไตรมาสแรกปีนี้ ก็จะสามารถประเมินภาวะเศรษฐกิจของไทยได้ แต่ขณะนี้ยังยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยยังจะขยายตัวในช่วง 3-4% เช่นเดิม โดยกระทรวงการคลังไม่ได้นิ่งนอนใจ เกาะติดปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด แม้ยอดส่งออกจะชะลอตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปีนี้ ล่าสุดได้ข่าวว่ายอดส่งออกเริ่มดีขึ้นแล้ว ฉะนั้นต้องรอการประกาศตัวเลขชัดเจนอีกครั้ง

    “การฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศนั้น เป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในไทยต่อเนื่อง ฉะนั้น การให้บริการนักท่องเที่ยวต้องไม่สะดุด โดยเฉพาะการให้บริการที่สนามบินต้องอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวไทย 27.5 ล้านคน”

     

    เกาะติดส่งออกฟื้น-ดอกเบี้ยชะลอขึ้น ประเมินเศรษฐกิจไทย
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

    จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการปรับประมาณการเศรษฐกิจรอบแรกของปี 2566 ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า กนง.จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากระดับปัจจุบันที่ 1.50% ไปสู่ 1.75% และน่าจะเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายของวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในรอบนี้ จาก 2 เหตุผลหลัก คือ 1.แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลงเห็นได้จากเงินเฟ้อของไทยเดือน ก.พ.ที่เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน โดยชะลอตัวลงมาเหลือ 3.79% และ 2. คือ แรงกดดันจากนโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลางทั่วโลกลดลง

    ด้านนายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย คาดว่า กนง.จะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เนื่องจากยังมีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อดึงเงินเฟ้อให้ย่อตัวลง และมองว่า กนง.ครั้งนี้จะจบรอบการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้เช่นกัน ขณะที่ น.ส.รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มงานโกลบอลมาร์เกต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดว่าที่ประชุม กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% และมีโอกาสที่มติจะไม่เป็นเอกฉันท์ ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณการหยุดพักการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไป.

    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : pleodinosaur.com